วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556


การสอนคำสอนแบบ Active learning

ประสบการณ์เป็นครูที่ดีที่สุดของเรา การได้เดินทางไปแสวงบุญยังสถานที่แห่งหนึ่งแห่งใด จะทำให้ท่านไม่ลืมไปได้อย่างง่ายๆ เมื่อเทียบกับการได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับสถานที่นั้นเท่านั้น
เราส่วนใหญ่มักจะเรียนรู้แบบเป็นฝ่ายรับ(Passive) เช่น การนั่งฟังการบรรยายหรืออ่านตำราอยู่คนเดียว แต่ไม่ค่อยได้เรียนรู้แบบเป็นฝ่ายกระทำ เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงกับเรียนรู้ การเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบลักษณะการเรียนรู้ แบบ Passive Learning ซึ่งเป็นวิธีการที่เราคุ้นเคยกันมา กับ Active Learning ที่ครูคำสอนควรเรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานคำสอนของเรา

การเรียนแบบ Passive Learning
การเรียนแบบ Active Learning
ผู้เรียนเริ่มต้นโดยการรับรู้เนื้อหา
ผู้เรียนเริ่มด้วยการแบ่งปันประสบการณ์
คำสอนเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้เรียนเป็นผู้รับข้อมูล
ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการค้นหาสิ่งที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ ครูเป็นเพียงผู้นำและแหล่งข้อมูล เป็นผู้อำนวยความสะดวก
การบวนการเรียนเป็นแบบ Deductive คือเริ่มจากคำสอนหรือหลักการ และค่อยๆนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิต
การเรียนเป็นแบบ Inductive คือ เริ่มจากประสบการณ์เฉพาะเรื่องแล้วนำไปสู่หลักการที่สามารถนำไปใช้กับกรณีอื่นๆทั่วไป
บรรยากาศการเรียนเป็นไปตามลำดับ มีระเบียบ มีความเงียบ พลังงานของผู้เรียนถูกจำกัดไปกับการควบคุมตนเอง ผู้เรียนรู้สึกอึดอัดและต่อต้าน
บรรยากาศการเรียนจะดูอึกทึกวุ่นวาย แต่ควบคุมได้ พลังงานของผู้เรียนถูกนำมาใช้ในการค้นหาและเรียนรู้
ผู้เรียนไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวหรือมีปฏิสัมพันธ์มากนัก
ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์บ่อยขึ้น
การอภิปรายจะถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบความมั่นใจในความรู้ที่เกิดมาจากความจำในเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไป
การอภิปรายถูกนำมาใช้เพื่อสำรวจถึงความหมายจากประสบการณ์และเพื่อนำไปประยุกต์ให้เกิดความรู้ใหม่กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตข้างหน้า

การเรียนการสอนแบบ Active Learning นั้นให้ความสำคัญกับผู้เรียนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ให้มากที่สุด โดยครูคำสอนสามารถใช้ เกม บทบาทสมมติ กิจกรรม ใบงาน และการค้นคว้าต่างๆ ซึ่งผู้เรียนจะได้รับติดตัวไม่ใช่เฉพาะความรู้ทางสติปัญญาเท่านั้น
การเรียนแบบ Active Learning นี้เหมาะกับการสอนคำสอนที่ครูคำสอนควรที่จะเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำบางประการเพื่อจะได้ช่วยทำให้ครูคำสอนสามารถทำการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
·       ครูควรศึกษาคุณลักษณะของการสอนแบบ Active Learning จากแหล่งความรู้ต่างๆ
·       ฝึกการสอนคำสอนแบบ Active Learning
·       ควรให้เวลาในการฝึกและการเตรียมตัว
·       อย่าแพ้การประจญหรือยกเลิกการสอนแบบ Active Learning ไปเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและไม่คุ้นเคย
ตัวอย่างการสอนคำสอนแบบ Active Learning
เรื่อง “ความเคารพต่อมโนธรรมของผู้อื่น” (โรม 14:1-23)
1.  เริ่มการสอนคำสอนโดยให้ผู้เรียนได้คิดในประเด็นที่ว่า “อะไรเป็นสาเหตุให้คนเราต้องทะเลาะกัน”
2.  ให้ผู้เรียนอ่าน โรม 14:1-23 ดังๆ
3.  แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มละ 4-6 คน แล้วให้แสดงออกมาเป็นแบบบทบาทสมมุติที่สะท้อนให้เห็นแนวทางการอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพต่อกันและกัน
4.  ให้เวลาแต่ละกลุ่มได้ซ้อมและแสดง หลังจาการแสดงเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็น และสรุปบทเรียน โดยอ่านพระวาจา โรม 14:1-23 อีกครั้งหนึ่ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น