วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

ข้อแนะนำทั่วไปของการจัดค่ายคำสอนและการฟื้นฟูจิตใจเยาวชน


ข้อแนะนำเชิงหลักการทางเทววิทยา
1.    การออกแบบการจัดค่ายคำสอนและการฟื้นฟูจิตใจควรที่จะเป็นโอกาสให้เยาวชนได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเยซูเจ้า กิจกรรมต่างๆควรที่จะเน้นให้พวกเขาได้เป็นสานุศิษย์ที่ดีของพระองค์ในชุมชนที่พวกเขาสังกัด เช่น การเป็นสมาชิกหรือลูกวัดที่กระตือรือร้น การกล้าที่จะแสดงตนและประกาศข่าวดีของพระเยซูคริสต์
2.    การจัดค่ายคำสอนและการฟื้นฟูจิตใจ เป็นพันธกิจด้านงานอภิบาลของพระศาสนจักร ซึ่งได้แก่ การประกาศข่าวดีหรือคำสอนของพระเยซูคริสต์ การให้การฝึกอบรมชุมชนคริสตชนให้เข้มแข็ง การเปิดโอกาสให้สมาชิกของพระศาสนจักรได้คิดไตร่ตรองถึงคำถามของชีวิตด้วยแสงสว่างจากคำสอนของพระเยซูเจ้า(พระคัมภีร์) จากคำอธิบายของพระศาสนจักร จากขนมธรรมเนียมประเพณี และโดยการท้าทายให้สมาชิกที่เข้าค่ายหรือการฟื้นฟูจิตใจให้ตอบสนองต่อคำสอนของพระเยซูคริสต์ด้วยความกระตือรือร้น
3.    เนื้อหาของคำสอนสำหรับเยาวชนควรนำมาจากคำสอนทางการของพระศาสนจักร
4.   การภาวนา ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของพิธีกรรม การภาวนาเป็นหมู่คณะ และการภาวนาส่วนตัว เป็นหัวใจของการจัดค่ายและการฟื้นฟูจิตใจ การภาวนาเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการเสริมสร้างความเชื่ออย่างต่อเนื่อง
5.    การเข้าค่ายและการฟื้นฟูจิตใจเยาวชนควรจัดพิธีกรรมต่างๆให้มีชีวิตชีวา แต่ต้องให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติของพิธีกรรมเองและข้อกำหนดของสังฆมณฑล ควรจัดให้ตรงตามเทศกาลของพิธีกรรม ให้เวลากับการรวมพิธีกรรม และการมีส่วนร่วมของสมาชิก

ข้อแนะนำเชิงปฏิบัติ
1.    การเข้าค่ายหรือการฟื้นฟูจิตใจควรให้โอกาสเยาวชนได้มีเวลาคิดทบทวนถึงประสบการณ์ชีวิตของตนเอง ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกถึงความรักความภูมิใจในชีวิตของตนเอง สำนึกว่าชีวิตตนมีประโยชน์และมีความหมาย
2.    บรรยากาศควรที่จะเป็นการแสดงออกถึงการยอมรับกันและกัน การพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า และอิสรภาพ ควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ใช้อารมณ์เข้าตัดสิน
3.    การเข้าค่ายและการฟื้นฟูจิตใจควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้แสดงออกและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่หลายหลากของแต่ละคน
4.   ควรคำนึงถึงมิติด้านจิตวิทยาของผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ไม่ว่าจะจัดกิจกรรมใด ต้องดูความเหมาะสมของเพศ วัย ความปลอดภัย สุขภาวะ การพักผ่อน อาหารการกิน ฯลฯ
5.    การให้โอกาสเยาวชนได้แบ่งปันประสบการณ์คริสตชนของพวกเขาเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเยาวชนด้วยกัน เป็นการแสดงตนเป็นประจักษ์พยานต่อความเชื่อ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ที่ได้รับมาจากศีลล้างบาปและศีลกำลัง เป็นการทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวดีหรือธรรมทูตของพระเยซูคริสต์
6.  การเข้าค่ายและการฟื้นฟูจิตใจเป็นพันธกิจประการหนึ่งของกระบวนการถ่ายทอดความเชื่อของพระศาสนจักร ดังนั้น วัดแต่ละวัดควรจัดเตรียมและติดตามหลักจากที่สมาชิกของตนได้มาเข้าค่ายหรือการฟื้นฟูจิตใจ นี้เป็นพันธกิจสำคัญในส่วนของวัด

หลักสำหรับการจัดเนื้อหาและกระบวนการ
1.    ควรเริ่มต้นจากประสบการณ์ชีวิต เรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตของเยาวชนจะต้องนำมาเชื่อมโยงและพิจารณาในหลักตามคำสอนของพระเยซูเจ้า
2.    การออกแบบและองค์ประกอบต่างๆของการเข้าค่ายและการฟื้นฟูฯ ควรพิจารณาตามพื้นฐานขั้นตอนการพัฒนาดังนี้
ก.      พัฒนาการด้านจิตใจของผู้เข้าค่ายและฟื้นฟูฯ
ข.      การพัฒนาด้านสังคม
ค.     การพัฒนาด้านสติปัญญา
ง.      การพัฒนาด้านศีลธรรม
จ.      การพัฒนาด้านความเชื่อ
3.    เนื้อหาควรเหมาะสมกับกลุ่มอายุของเยาวชนที่แตกต่างกัน เนื้อหาควรสอดคล้องกับหัวข้อของการเข้าค่ายฯหรือฟื้นฟูฯ
4.    กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมกลุ่มต่างๆ เช่น การแบ่งปันในกลุ่มย่อย เกม กิจกรรมการเคลื่อนไหว ควรนำมาใช้เพื่อให้สมาชิกเกิดความตื่นตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้
5.    การใช้เรื่องเล่า การแบ่งปันความเชื่อ และการเป็นประจักษ์พยานชีวิตส่วนตัว ควรได้รับความเคารพในฐานะที่เป็นเครื่องมือสื่อให้เห็นถึงคำสอนที่มีชีวิต จับต้องได้
6.    กระบวนการในการนำเสนอคำสอนสำหรับเยาวชน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ คือ ประสบการณ์ หลักคำสอน การไตร่ตรอง และการปฏิบัติ

ข้อแนะนำสำหรับรายละเอียดบางประการเพื่อให้การเข้าค่ายและการฟื้นฟูบังเกิดผลดี
ด้านกายภาพ
·       นอนหลับอย่างเพียงพอ
·       พักผ่อนอย่างเพียงพอ
·       อาหารที่เหมาะสม
·       ให้อยู่กับธรรมชาติและกลางแจ้ง (ถ้าเป็นไปได้)

ด้านจิตใจ
·       การจัดพิธีกรรม อันดับแรกคือพิธีมิสซาฯ การรับศีลอภัยบาป การภาวนาส่วนรวม การภาวนาส่วนตัว การมีเวลาเงียบส่วนตัว การพิจารณามโนธรรม การอ่านพระคัมภีร์

ด้านจิตวิทยาและด้านสังคม
·       จัดให้มีเวลาส่วนตัวและส่วนรวมอย่างเหมาะสม
·       มีโอกาสได้ปรึกษาส่วนตัวกับผู้นำ
·       มีเวลาทบทวนชีวิตของตนเอง
·       มีการเสริมสร้างชีวิตหมู่คณะ
·       เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและในชีวิตของชาวค่ายหรือการฟื้นฟูฯ
·       มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงออก
·       มีการนำเสนอความรู้ในรูปแบบต่างๆ
·       มีการอภิปรายและแบ่งปันประสบการณ์

กิจกรรมสนับสนุน                                 
·       จัดให้มีการเตรียมการจัดค่ายๆหรือฟื้นฟู เช่น การประชุม การฝึกอบรมผู้ร่วมงาน
·       มีกระบวนการติดตามผล
·       มีการประเมินผลทีมงานและผู้เข้าค่ายฯ
·       มีการฝึกอบรมทีมงาน รวมถึงการวางแผนและการจัดโปรแกรมต่างๆ


ขอให้ทุกคนสนุกกับงานคุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ
ข้อมูลจาก
Ekstrom. (1991). Retreats. New Rochelle NY: Don Bosco Multimedia. pg. 116-117.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น